คำอธิบายการตรวจการแปล (control เครื่องไม่คล่อง แต่ผู้เรียนคงทราบว่าเป็นการแปลเฉพาะคำที่ขีดเส้นใต้ ปัญหาคือเมื่อcopy ไฟล์มา Post เส้นที่ขีดไว้มันหาย...แต่เรารู้กันนะครับ?????...ศิษย์คนไหนว่างก็ค่อยมาเปลี่ยนบทบาทมาสอนครูจัดการกับบล็อกนี้ใหม่)
ระดับคำ ครั้งที่ 1: สิ่งที่นักศึกษาพึงใช้ประกอบในการเตรียมตัวเรื่องการสอบก็คือ ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในการสอบแต่ละครั้ง พยายามคาดเดาว่า อาจารย์ผู้ออกข้อสอบ จะมีกรอบอะไรบ้างในการตั้งโจทย์ อย่างเช่นครั้งนี้เมื่อเป็นการแปลเพียงระดับคำ ข้อสอบก็ต้องเป็นระดับคำ แต่ไม่ใช่คำไหนก็ได้ เพราะถ้าไม่มีความยากในระดับที่จะแยกแยะคนเก่งคนอ่อนได้ก็ไม่ควรเป็นข้อสอบ และให้เปิดพจนานุกรมได้ด้วย แถมยังเป็นงานคู่ ดังนั้นในการเตรียมตัวเราต้องคิดแล้วว่า โจทย์จะต้องมีแง่มุมให้คิดมากกว่าเพียงแค่คำที่เห็น ต้องพิจารณาบริบทและทำความเข้าใจความหมายของคำนั้นให้ชัดเจน
1. เธอเฝ้าคอยการกลับมาของเขา…เมื่ออ่านแล้ว ควรสังเกตุได้ว่า ในประโยคมีทั้งคำว่าเฝ้าและคำว่าคอย ถ้าเราเข้าใจเพียงว่าเป็นการคอย เราจะได้เพียงคำว่า wait แต่คอย กับเฝ้าคอย มันไม่เหมือนกันเสียทีเดียว มีรายละเอียดต่างกัน และโจทย์ให้แปลตัวที่ขีดเส้นใต้ซึ่งไม่ใช่คำว่าคอย (แต่ในการตรวจครั้งนี้ยังให้ .2 สำหรับคำว่า คอย โดยคนตรวจพยายามเข้าใจว่าเขาอาจรู้ว่า คอยมานานและกำลังคอยอยู่ ซึ่งที่ถูกได้จริงคือ has been waiting …แต่เนื่องจากเป็นกิจกรรมเก็บคะแนนในครั้งแรกการให้คะแนนจึงเปิดกว้างอยู่แต่ครั้งต่อไปนักศึกษาต้องรอบคอบมากขึ้นไม่งั้นจะไม่ได้คะแนน)
..ให้เต็มคือคำว่า keeps, kept, has been waiting, is looking forward to –ขณะเดียวกันสำหรับคนที่ไปดูความหมายของคำว่า เฝ้า โดยไม่คิดต่อว่าเฝ้าในที่นี้ไม่ได้เป็นการเฝ้าแบบจ้องดูหรืออยู่ยาม แล้วให้คำว่าTo watch จะไม่ได้คะแนนในข้อนี้เพราะ หมายถึงการเฝ้าดูเฝ้ามอง
2. ใครๆก็ชอบเด็กคนนั้นเพราะเขาเป็นเด็กดี
..ให้เต็มคือคำว่า everybody everyone ส่วน anyone ให้ .4 เพราะมีความหมายในลักษณะใครก็ได้ ไม่เลือก เหมือนกับ whoever ซึ่งให้ .3 เพราะ whoever ใช้ในกรณี ใครก็ได้ที่…เช่นฉันจะแต่งงานกับใครก็ได้ ใครก็ตามที่….ซึ่งสำหรับบางคนในบริบทนี้อาจถือว่าผิดไปเลยก็ได้
3. สถานการณ์บีบให้เธอยอมเป็นผู้ตามชั่วคราว
บีบให้เธอ..ให้เต็มคือคำว่า forced, made, compelled โดยบริบทเป็นสิ่งที่เกิดแล้วต้องใช้รูป past tense และต้องเป็น รูป active voice เพราะประธานของประโยคในโจทย์ที่ให้มาคือ สถานการณ์ไม่ใช่ เธอ (แม้ว่าเธอจะถูกบีบให้…) คำอื่นๆที่นักศึกษาให้มาแต่ได้คะแนนลดหลั่นลงไปเพราะในการใช้จริงๆของคำเหล่านั้นมีข้อปลีกย่อยที่ต่างออกไปเช่น coerce มักใช้ในกรณีที่ถูกบังคับขืนใจให้ทำด้วยการขู่ ด้วยอาวุธ แม้จะไม่เสมอไปแต่จะเหมาะกับลักษณะนั้น (ขณะที่คำว่า force นั้นแม้จะใช้กับกรณีที่ใช้กำลังบังคับด้วยแต่ก็ใช้ในบริบทที่อยู่ในภาวะจำยอมเช่นในโจทย์นี้ได้)
แปลอังกฤษเป็นไทย
1. Most flood victims lived on donated food.
ให้เต็มเมื่อแปลว่า ได้ด้วย, ด้วย, โดยอาศัย
คำว่า ใน ไม่ให้เพราะไม่เข้ากับบริบท คำว่า อาศัย ถูกหักคะแนนเพราะไม่มีคำว่าโดย และไปพ้องกับกริยา lived ทำให้ไม่อาจระบุได้ชัดเจนว่าผู้แปลแปลคำถูกคำหรือไม่
2. She was nervous about her exam.
ในบริบทนี้แปลว่า กังวล หรือเครียด (เกี่ยวกับ…เรื่อง…)
3. The security guard was stationed at the gate. ในข้อนี้หมายถึง ว่าพนักงานรักษาความปลอดภัย ได้รับมอบหมายให้ไปประจำที่ (ถูกให้ไป)ประจำการ เข้าเวร
4. The incident is very embarrassing for the family.
คำว่า embarrassing ใช้ในกรณีที่น่าอายน่ากระอักกระอ่วน …ไม่ได้แปลหรือใช้กับสถานการณ์ที่ยากลำบาก …ที่บางคนแปลว่า ทำให้ยุ่งยากจึงไม่ตรงความหมายนัก ที่ถูกต้องเป็น เป็นที่น่าอาย-น่าลำบากใจ-สร้างความอึดอัดลำบากใจ อะไรแนวนี้
5. It was very thoughtful of you to remember my birthday.
คำว่า thoughtful แปลตามตัวแปลว่า คิดละเอียด คิดรอบคอบ …แต่เมื่อนำมาใช้ในประโยค ..,“ มันเป็น………อย่างมากของคุณที่จำวันเกิดของฉันได้” ในภาษาไทยจึงต้องเป็น “เป็นความมีน้ำใจ” “เป็นความเอาใจใส่”
6. The newspapers had labeled him a troublemaker.
คำว่า label หมายถึงฉลาก หรือป้ายบอก .ในที่นี้ในลักษณะการถูก label บนหน้าหนังสือพิมพ์ จึงไม่ได้แปลว่า ลงข่าว แต่หมายถึง ได้รับฉายา ถูกตราหน้า….คำแปลที่มีทั้งส่วนผิดและถูกคือ พาดหัวข่าว (ให้ ถึง.2ในการสอบครั้งแรก แต่ในครั้งต่อไปในกรณีนี้จะได้คะแนนต่ำกว่านี้หรืออาจไม่ให้เลย) มีส่วนผิดเพราะประโยคนี้ไม่ได้หมายถึงการพาดหัวข่าว เพียงแต่มีโอกาสเป็นไปได้ที่การตั้งฉายานั้นอาจเป็นข่าวใหญ่และพาดหัวอยู่ครั้งนี้เลยให้คะแนนไปโดยพยายามคิดในแง่ดีว่าผู้แปลเข้าใจ
หมายเหตุ คำอธิบายนี้ให้ไว้เพื่อให้นักศึกษารับทราบถึงแนวทางในการตรวจให้คะแนนและแนวทางในการพิจารณาประกอบการแปลโดยสรุป หากมีข้อสงสัยและต้องการรายละเอียดอื่นเพิ่มเติมขอให้ติดต่ออาจารย์เมธีโดยตรง
อ.เมธี แก่นสาร์
23 พฤศจิกายน 2554
ประวิติศาสตร์บอกเล่า เหล่าเสือโก้ก
-
หลังจากเริ่มเสนอโครงการมาตั้งแต่ประมาณปี 52
จากนั้นก็เก็บข้อมูลโดยการสอบถามพูดคุยผุ้เฒ่าผู้แก่และสมาชิกในชุมชนตามโอกาสมาเรื่อยๆ
และเมื่อได้รับงบสนับสนุน...
12 years ago
thank you krap AJ.
ReplyDeleteThanks for the feedback. You're welcome.
ReplyDeleteMT