ขอเพียงแค่เราต้องการ เราทุกคนล้วนสามารถทำอะไรอะไรหลายๆอย่างให้แก่คนอื่น แก่ชุมชนได้ ในฐานะที่อยู่ในสายวิชาการ และมีพื้นเพมาจากชุมชนชนบท เมื่อผมมีโอกาสได้เห็นสังคมภายนอกได้เรียนรู้ในความต่างความเหมือนแล้ว ผมมีความประสงค์ที่จะเข้าไปมีส่วนรับรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน หาแนวทางลดช่องว่างทางความคิดระหว่างคนที่มีภูมิหลังและประสบการณ์ต่างกัน อยากมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสให้เด็กในชนบทได้มีโอกาสรับรู้เรียนรู้มากขึ้นเพราะผมพอจะทราบว่าคนในชนบทกับคนเมืองหรือคนจนกับคนรวยนั้นต้นทุนห่างกันเพียงใด นั่นเป็นเหตุผลที่ผมมักกลับไปที่หมู่บ้านที่ผมจากมา (บ้านเหล่าเสือโก้ก)โดยไปสอนเด็กๆแบบให้เปล่าในวันหยุดเท่าที่เวลาจะอำนวยมากว่าสี่ห้าปีแล้ว บางครั้งผมก็พานักศึกษาที่เต็มใจไปช่วยไปร่วมกิจกรรมกับเด็กๆ บางครั้งก็เชิญแขกชาวต่างชาติไปบ้างตามโอกาส อาจจะทำไม่ได้มากมายแต่ผมก็สุขใจที่ได้ทำ ผมอยากทำให้มากขึ้น แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง เมื่อทำมาได้ระยะหนึ่งแล้วจึงตัดสินใจบอกกล่าวให้คนทั่วไปได้รับรู้ผ่าน Blog นี้ เผื่อจะมีโอกาสทำให้ได้ดีขึ้น มากขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ที่แรงสนับสนุน หากท่านเป็นคนหนึ่งที่พอจะเห็นในเจตนาอันบริสุทธิ์นี้และอยากมีส่วนร่วมโปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อผมได้ที่ meteekns79@gmail.com หรือแสดงความคิดเห็นให้คำแนะนำมาที่ Blog นี้

Thursday, October 20, 2016

คนกับหมา ต่างก็มีค่าและศักดิ์ศรี นายเมธี ขอชี้แจง



หมีไม่ถือสา หมาไม่ถือสี เป็นเมธี ต้องตีโจทย์ด้วยปัญญา
ค่าของคน วัดกันที่  จิตใจ หาใช่สิ่งที่จะมาดูหรือประเมินกันที่ภายนอก
คนที่มีจิตใจงาม ไม่ควรตัดสินตีค่าใคร หรือกลุ่มใด เพียงการมองจากภายนอก หรือมุ่งเพียงจะบอกว่ารวยหรือจน คนนอกหรือในกรุงที่สำคัญมากๆ อย่าได้เผลอใช้บรรทัดฐาน ความเคยชินของตนและพวกไปตัดสินใครผู้ใด กลุ่มใด เพียงเพราะแค่สิ่งที่คุณเห็นนั้นต่างจากที่คุณเคยเห็น เคยรู้มา….เหมือนที่เราเห็นหมาหรือสุนัขกินขี้หรืออุจจาระ….อย่าได้ด่วนไปตีค่าว่าหมาต้องต่ำและสกปรกกว่าคนไปเสียทุกด้าน
งานนี้ตอนนี้ตีสี่ 35 นาที คืน18 ตุลาคม ผมนายเมธี แก่นสาร์ ตาแก่วัย 60 ยังอยู่ที่เหล่าเสือโก้ก ….พึ่งผ่านงานบวชของคุณหลาน 18 ตุลาคม 59….มีประเด็นที่เกี่ยวเนื่องที่คิดไปตามความเชื่อส่วนบุคคลว่าธรรมะจัดสรรให้ต้องเขียนอธิบายที่มาที่ไปต่อใน Blog เพราะปฏิทินที่แจกเป็นของชำร่วยเล็กๆน้อยๆในงานได้ระบุว่าสามารถดูรายละเอียดที่เกี่ยวข้องใน Blog นี้ได้.……
…..ปฏิทินที่แจกไปนั้นเป็นปฏิทินที่ครูเมธี จัดทำ คือออกแบบและเขียนข้อความนั้นเอง โดยมีจุดเริ่มต้นจากงานเกษียณฯ  เป็นการตอบโจทย์เมื่อทางฝ่ายจัดงานมุทิตาจิตให้กับผู้เกษียณฯ ได้ขอให้ผู้ที่จะเกษียณทุกคนรวมครูเมธีได้เขียนข้อคิดฝากไว้ก่อน เข้าสู่สถานะภาพข้าราชการบำนาญ นอกจากข้อคิดผมนายเมธี  แก่นสาร์ต้องการหาของฝากเล็กๆน้อยๆไว้ด้วยจึงตกลงทำเป็นปฏิทิน มอบเป็นที่ระลึกให้ผู้มาร่วมงานมุทิตาจิต โดยตอนที่สั่งพิมพ์ก็ได้คิดบวกจำนวนเผื่อแจกจ่ายในงานที่เหล่าเสือโก้กด้วย แม้ตอนนั้นไม่ได้คิดเรื่องจะใช้ในงานบวชหลานเลย แต่สองสามวันก่อนงาน นึกได้ว่าเป็นกิจกรรมรวมญาติพี่น้องที่เหล่าเสือโก้กอยู่แล้ว หากทางเจ้าภาพคือพี่สาวที่เป็นแม่ของนาค(ตอนนี้เป็นพระ)สนใจจะมอบให้ญาติพี่น้องและแขกที่ให้เกียรติมาร่วมงาน ก็ยินดี  ทางพี่สาวและหลานๆตกลงก็เลยมีการนำปฏิทินนี้มาแจกจ่ายในงาน……
ดังนั้นเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมท่านที่กรุณาเข้ามาตรวจสอบผม ในฐานะต้นเรื่องจึงขอเรียนชี้แจงในส่วนของเนื้อหาในปฏิทินโดยย่อดังนี้
  1. ตอเอ๋ยตอเต่า  หมายถึง หมวดของเนื้อหาหลักที่จะเขียนถึง ในหนังสือเมธีกับการสื่อสารที่พยายามจะเข็นจะเขียนและพิมพ์เผยแพร่ตามสัญญาแต่ติดปัญหาสถานการณ์การเมืองไม่ได้เป็นภาวะปกติ แม้เป้าหมายหลักเพื่อการศึกษาและเพื่อความเข้าใจของส่วนรวมก็ต้องระมัดระวัง เพราะ อาจมีผู้แปรเจตนาคลาดเคลื่อนหรือนำไปบิดเบือนได้
  2.  กิจกรรมจิตอาสาเพื่อการพัฒนาการสอนภาษา(อังกฤษ)และชุมชน
กิจกรรมที่ผ่านๆมาคือ การให้บิริการวิชาการ การสอนภาษาอังกฤษ จัดกิจกรรมให้เยาวชน การเชิญวิทยากร นิมนต์พระสงฆ์มาให้ความรู้ แสดงธรรม ตามโอกาส การฟื้นพูการย้อมสีผ้าด้วยเปลือกไม้ และที่มีโครงการจะทำต่อ เช่น การส่งเสริมการอ่านการคิด การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แก่เยาวชน รวมทั้งผู้สนใจ การปรับปรุง ธรรมการย์สถาน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ ฯลฯ
  1. ป่าให้เสือ หากชุมชนตกลงเห็นชอบ และเป็นไปได้ คือมีผู้สนับสนุนและระดมทุนได้ ครูเมธี มีแนวคิด จะหาที่ให้ชุมชนแล้วสร้างศูนย์การเรียนรู้หรืออาคารที่มีรูปทรงแสดง อัตลักษณ์ สัญลักษณ์ของเหล่าเสือโก้ก
  2. หมากับสี เป็นการเปรียบเทียบอุปมาอุปไมยชวนให้คิดพินิจดู  ด้วยสังคมปัจจุบัน ยังมีความเป็นสีเป็นกลุ่มในหลายที่  ในสังคมมนุษย์ นายเมธีเลยสะดุด ว่าสุนัขหรือหมา มีการแบ่งสีหรือไม่รุนแรงเพียงใด สัตว์ประเสริฐแบบที่มนุษย์ว่าไว้ ควรเรียนรู้หรือมองอะไรจากสุนัข เพื่อผู้ซื่อสัตย์ของเราได้บ้าง
  3. ดีกับเลว

ปัจจุบัน ข่าวสารข้อมูลผ่านมามากมาย ผู้รับสาร รับข่าว ต้องมีสติ ต้องระวังเรื่องการสื่อสาร แม้แต่คำว่าดี ว่าเลว หลายที ก็มีทั้งดีเลวจริงดีเลวเทียม หรือการเสี้ยมการบอกตอกย้ำว่าดีว่าเลว ต้องใช้ปัญญา หาเหตุหาผล เตือนตนตลอด

No comments:

Post a Comment