ขอเพียงแค่เราต้องการ เราทุกคนล้วนสามารถทำอะไรอะไรหลายๆอย่างให้แก่คนอื่น แก่ชุมชนได้ ในฐานะที่อยู่ในสายวิชาการ และมีพื้นเพมาจากชุมชนชนบท เมื่อผมมีโอกาสได้เห็นสังคมภายนอกได้เรียนรู้ในความต่างความเหมือนแล้ว ผมมีความประสงค์ที่จะเข้าไปมีส่วนรับรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน หาแนวทางลดช่องว่างทางความคิดระหว่างคนที่มีภูมิหลังและประสบการณ์ต่างกัน อยากมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสให้เด็กในชนบทได้มีโอกาสรับรู้เรียนรู้มากขึ้นเพราะผมพอจะทราบว่าคนในชนบทกับคนเมืองหรือคนจนกับคนรวยนั้นต้นทุนห่างกันเพียงใด นั่นเป็นเหตุผลที่ผมมักกลับไปที่หมู่บ้านที่ผมจากมา (บ้านเหล่าเสือโก้ก)โดยไปสอนเด็กๆแบบให้เปล่าในวันหยุดเท่าที่เวลาจะอำนวยมากว่าสี่ห้าปีแล้ว บางครั้งผมก็พานักศึกษาที่เต็มใจไปช่วยไปร่วมกิจกรรมกับเด็กๆ บางครั้งก็เชิญแขกชาวต่างชาติไปบ้างตามโอกาส อาจจะทำไม่ได้มากมายแต่ผมก็สุขใจที่ได้ทำ ผมอยากทำให้มากขึ้น แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง เมื่อทำมาได้ระยะหนึ่งแล้วจึงตัดสินใจบอกกล่าวให้คนทั่วไปได้รับรู้ผ่าน Blog นี้ เผื่อจะมีโอกาสทำให้ได้ดีขึ้น มากขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ที่แรงสนับสนุน หากท่านเป็นคนหนึ่งที่พอจะเห็นในเจตนาอันบริสุทธิ์นี้และอยากมีส่วนร่วมโปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อผมได้ที่ meteekns79@gmail.com หรือแสดงความคิดเห็นให้คำแนะนำมาที่ Blog นี้

Monday, August 28, 2017

ผ้ามงคล ผลความดี มีโอกาสกลายเป็นผลิตภัณฑ์ส่วนหนึ่งในชุมชนคุณธรรม

ผ้ามงคล ผลความดี
ที่เหล่าเสือโก้ก (ธรรมการย์สถานลานมอ เหล่าเสือโก้ก) .เหล่าเสือโก้ก จ.อุบลฯ
 มงคล หมายถึง ความเจริญวัฒนา หรือสิ่งที่นำมาซึ่งความเจริญ หรือความสุข ความสบายใจ ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-อังกฤษ อ. สอ เสถบุตร a garland, made of yarn in pairs, worn by the bride and groom
favorable, auspicious, propitious
ผ้ามงคล ผลความดี จึงหมายถึงผ้าที่นำมาซึ่งความรู้สึกที่ดี ที่ทั้งผู้ผลิตและผู้ซื้อสมัครใจและสบายใจที่ได้มีส่วนร่วม ที่ได้ชื่อนี้เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่มาจากกิจกรรมจิตอาสาเพื่อส่งเสริมการคิดดีทำดี มีความสามัคคี มีเมตตาต่อกันในชุมชน ผลิตภัณฑ์ผ้านี้ เป็น พลอยได้ที่ มีผู้เห็นคุณค่าในเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นและเต็มใจให้ราคาบวกคุณค่าเพื่อการพัฒนาชุมชนต่อไปสมาชิกกลุ่มรวมมิตรเมธีเพื่อสิ่งดีๆที่บ้านเหล่าฯ ก็รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีที่มีผู้เชี่ยวชาญ มีกัลยาณมิตร หรือเครือข่ายมาช่วยหาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ก้าวไปข้างหน้าสู่เป้าหมายหรือโอกาสที่จะเพิ่มทั้งคุณค่าและราคาต่อไป  กลุ่มฯจึงขอน้อมรับฟัง ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆไปพิจารณาหาและสร้างความเป็นมงคล เพิ่มเติมต่อไป

ก่อนจะมาเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ชุมชน
 เริ่มมาจาก การแสวงหา แนวทางการห่างกันเพราะสี
จุดมุ่งหมายก็คือ การชี้ให้เห็นความสวยงามในความต่าง
ตัวอย่างสี ที่มีในธรรมชาติ โอกาสการรวมเป็นสีเดียว
กลมเกลียวกัน



ข้อมูลเพิ่มเติม ออนไลน์ เกี่ยวกับ กลุ่มรวมมิตรเมธี เพื่อสิ่งดีๆที่บ้านเหล่าฯ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง บางส่วน
1.         ประวัติการก่อตั้งกลุ่มรวมมิตรเมธีฯ





2.         พระพุทธเมตไมตรีศรีมงคล  ที่ http://meteekansa-thai-version.blogspot.com/2013/02/blog-post.html
3.         ภาพรวมสรุปงานและกิจกรรมประกอบเพลง ที่คุณยุทธนา ก้อนทอง (ชื่อสกุลเดิม) ได้ประพันธ์มอบให้  ที่ https://www.youtube.com/watch?v=fWkxSverY5w
4.         หนังสือประวัติศาสตร์บอกเล่าเหล่าเสือโก้ก ที่ http://baanlaosuegok.blogspot.com/2012/12/blog-post_999.html, http://www.lib2.ubu.ac.th/localinformation/?p=866,
5.         โครงการรวมใจรวมดิน ระดมทุนซื้อที่ให้ชุมชนฯปี 2560 พร้อมแหล่งข้อมูลออนไลน์ ที่ http://meteekansa-thai-version.blogspot.com/2016/12/blog-post.html
6.         (จดหมายเปิดผนึก แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในชุมชน ) ตอเต่า เรื่องเล่าจากเหล่าเสือโก้ก  ที่ http://meteekansa-thai-version.blogspot.com/2017/03/blog-post.html
7.         กิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษในรูปแบบจิตอาสา ตามโอกาสในปี 60 (หลังเกษียณ) ชุดเด็กบ้านเหล่าฯหัดเว้าภาษาอังกฤษ ที่ https://www.youtube.com/watch?v=qEtxVR5OpfQ

 รายละเอียดเพิ่มเติม

แบบบันทึกข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชน (ก่อนการพัฒนา)
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด อุบลราชธานี
ที่
รายการ
ข้อมูล
หมายเหตุ
1
ชื่อผลิตภัณฑ์
ผ้ามงคลผลความดีที่เหล่าเสือโก้ก
(ผ้าพันคอ และผ้าขาวม้า)
ผ้าที่ไม่ได้มีราคาเพียงเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าแต่มีคุณค่าทั้งที่มาและเป้าหมาย
2
หมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน
ผ้า ผลิตภัณฑ์จากผ้า

3
ประวัติความเป็นมา
 ผลิตภัณฑ์ผ้าพันคอและผ้าขาวม้า ของกลุ่มรวมมิตรเมธีเพื่อสิ่งดีๆที่บ้านเหล่าฯ เป็นผลผลิตพลอยได้จากกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องรายได้หรือธุรกิจแต่อย่างใด โดยเริ่มต้นมาจากความต้องการของผู้บันทึกในฐานะเป็นผู้หนึ่งที่เกิดที่บ้านเหล่าเสือโก้ก ที่มีความประสงค์จะนำความรู้ประสบการณ์เท่าที่มีและพอจะขยายผลตอบแทนกลับสู่ภูมิลำเนาหลังจบการศึกษาได้มาสร้างประโยชน์เสริมความคิดความรู้ในพื้นที่ โดยได้เริ่มระดมและแลกเปลี่ยนความคิดความฝันกับสมาชิกในชุมชนตลอดจนกัลยาณมิตรเมื่อ ประมาณปี พ..2547 จากการประชุมหารือครั้งนั้นนำมาสู่การบริจาคที่ดินของครอบครัวให้เป็นธรณีสงฆ์เพื่อเป็นที่ตั้งของพิพิธภัฑ์ ก้อนคำพร้อมกับการ ร่วมฝันร่วมสร้างพระพุทธรูปของชุมชน คนเหล่าเสือโก้ก ไว้ สำเร็จเป็น พระพุทธเมตไมตรีศรีมงคล ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556  (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ใน หนังสือประวัติ พระพุทธเมตไมตรีศรีมงคล (พระหนึ่งเดียว) พิมพ์ครั้งที่ 2 ..2558)  ในปีนั้นชุมชนบ้านเหล่าเสือโก้กเองก็เริ่มได้รับผลกระทบจากการเมืองระดับประเทศ แม้ไม่มีการแบ่งหรือแตกสามัคคีรุนแรงแต่ก็เป็นที่พอรับรู้กันได้ว่ามีการแบ่งขั้วแยกสีในชุมชนเช่นกัน  ประมาณปลายปี 2557 หลังการรัฐประหาร ปัญหาความปรองดอง เป็นปัญหาใหญ่ของชาติ เมื่อมองที่ชุมชนเหล่าเสือโก้ก บ้านเกิดของตนเอง ผู้บันทึกบอกตนเองว่า ก่อนที่ความสามัคคีจะแยกห่างจนยากจะประสาน สมาชิกในสังคมควรต้องทำอะไรสักอย่าง แล้วผู้บันทึกจะทำอะไรได้บ้างในเรื่องสี พอดีกับช่วงที่เริ่มเห็นปัญหาเรื่องสี ผู้บันทึกได้ทราบว่าคุณครูของตนเองคนหนึ่งซึ่งเป็นพี่สาวของพี่เขยและนับได้ว่าเป็นบุคลากรคนชั้นครูในชุมชนได้สอนลูกหลานคนในชุมชนมานับสิบๆปีจนท่านเสียชีวิตคือ คุณครูบัวสอน วงศ์สุวรรณ ได้ทอผ้าฝ้ายไว้หลายพับ และผู้บันทึกได้ผ้าบางส่วนมา เมื่อมาคิดเรื่องสี อยากได้ใคร่เสี่ยงสร้างและหาสีที่มาจากจิตอันบริสุทธิ์ของผู้หลักผู้ใหญ่ของชุมชนเผื่อจะเกิดผลดลให้เกิดความสามัคคีดีกว่าเก่า ผู้บันทึกจึงได้คิดถึงเรื่องเปลือกไม้และการใช้สีจากเปลือกไม้มาย้อมผ้า จึงได้เริ่มหาผู้ที่พอจะมีความรู้เรื่องการทอผ้าและย้อมสีจากเปลือกไม้ และได้คุณประภัสสร ปลื้มจิต มาช่วย เชิญชวนเพื่อนๆสมาชิกที่สนใจ มาร่วมช่วยกันคิดช่วยกันทำ ทำการลองผิดลองถูกจนเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในปี 2558 เข้า 59 และจนถึงปัจจุบัน ซึ่งยังต้องทำการศึกษาเรียนรู้ต่อไปเพื่อการพัฒนา เพราะสมาชิกกลุ่มประมาณ 3-4 รายที่ยังทำการทออยู่ ต่างทำด้วยใจรัก และเห็นประโยชน์ในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ เท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ด้วยวัยและความพร้อมไม่พร้อมของกลุ่ม สมาชิกทั้งหมด ยังพึงพอใจที่จะดำเนินกิจกรรมการผลิตผ้าย้อมสีธรรมชาตินี้ต่อ ตามโอกาสเท่าที่จะสามารถจัดสรรเวลาได้ แต่ยังไม่มีใคร มีเวลาหรือพลังพอที่จะคาดหวังไปถึงการยึดเป็นอาชีพหรือแหล่งรายได้หลัก ตรงข้ามต่างพอใจที่จะทำด้วยใจสมัครและรักที่จะรักษามรดกด้านการย้อมและทอผ้านี้ไว้ เพื่อเผยแพร่ต่อคนรุ่นหลังสืบไป เท่าที่ยังมีพลังกายและแรงใจพอจะดำเนินการและหรือพัฒนาต่อไป

ตรวจสอบหรือดูข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องได้ ที่www.meteekansa.blogspot.com โดยคลิก ภาษาไทย ต่อ เพื่อเข้าถึงส่วนที่เป็นภาษาไทย
4
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
ในด้านตัวผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายที่เน้นวัตถุดิบและสีจากธรรมชาติ โดยย้อมสีจากเปลือกไม้ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น และเน้นเพื่อการอนุรักษ์และการทำงานด้วยการเห็นในคุณค่า  ราคาขายที่ตั้งที่วางไว้ จึงเกี่ยวพันผูกโยงที่ประวัติและที่มาบวกเป้าหมายร่วมกันของกลุ่ม นั่นคือ เพื่อสิ่งดีๆ รวมทั้งการส่งเสริมการคิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญาและร่วมแก้ปัญหาในชุมชนบวกสังคมโดยรวม ถือได้ว่าเป็นจุดเด่นของกลุ่มฯและผลิตภัณฑ์ เพราะไม่ได้ผลิตเพื่อหวังกำไรหรือเพื่อการขาย แต่เน้นเรื่องการมีส่วนร่วมในงานจิตอาสาตามความสนใจและความสามารถ แต่เมื่อการทำงานจิตอาสานำพาให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีโอกาสในการเกิดรายได้ รายได้ที่ได้มา นอกจากเพื่อเป็นค่าแรงส่วนหนึ่งแล้ว ส่วนที่หักเข้าส่วนรวมก็เพื่อใช้จ่ายในกิจการ ธรรมการย์ หรืองานที่ส่งเสริมศีลธรรมอันดี หรือการเพื่อความดีความถูกต้อง
งานและชนิดบวกปริมาณของผลิตภัณฑ์ ณ ปัจจุบัน จึงเป็นไปตามความสมัครใจ ความพร้อมของผู้ผลิต
5
วัตถุดิบหลัก
ฝ้าย และ เปลือกไม้

6
ส่วนประกอบ
ฝ้ายระหัน (และฝ้ายเข็น) สีจากเปลือกไม้

7
ประโยชน์
-ผลิตภัณฑ์ผ้า ผ้าพันคอใช้พันคอหรือไหล่ให้ความอบอุ่น หรือเครื่องประกอบในการแต่งกาย ผ้าขาวม้าอาจใช้คาดเอว โพกศรีษะ หรือพาดไหล่ และอื่นๆ
- เนื้อหาประวัติที่มา ถือว่าไม่ใช่เพียงผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัตถุหรือวัสดุแต่ด้วยเป็นผลิตผลที่เกิดจากความตั้งใจในการส่งเสริมการคิดดีการทำดี รวมทั้งการอนุรักษ์รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น หากผู้ซื้อๆด้วยความเข้าใจ กล่าวได้ว่าจะเป็นมงคลทั้งผู้ผลิตและผู้ซื้อนั่นคือมีเป้าหมายเดียวกันคือการส่งเสริมการคิดดีทำดี การร่วมกันสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่ชุมชนโดยรวม


8
แหล่งวัตถุดิบ
เนื่องจากในท้องถิ่นไม่มีการปลูกฝ้าย จึงซื้อฝ้ายจากร้านค้าในตัวจังหวัดอุบลฯ แล้วทำการย้อมเอง ด้วยเปลือกไม้ที่หาได้ในหมู่บ้าน
การจัดหาเปลือกไม้ ได้มีการพิจารณาเรื่องการอนุรักษ์ด้วย คือเลือกขนาดและจำนวนต้น รวมทั้งการปลูกทดแทน
9
ขั้นตอนการผลิต
ขั้นตอนโดยสรุปมี 10 ขั้นตอนคือ 1. ซื้อฝ้ายหรือเส้นด้ายเป็นหัว 2. ต้มน้ำให้ไขมันออกจากเส้นใย 3.หาเปลือกไม้ตามสีที่ต้องการ 4.ลงมือย้อม 5. ปั่นเส้นฝ้ายใส่หลอดใหญ่ 6. ค้นหูกหรือดึงยาว 7.สืบหรือนำเข้าฟืมทอ 8. ขึ้นกี่ หรือนำฝ้ายทางยาวขึ้นติดตั้งบนกี่ แล้วปั่นฝ้ายใส่หลอดเล็กที่สามารถใส่ในกระสวยเพื่อทอได้ 9.ทอตามสีตามลายที่ได้วางแผนไว้ 10. เมื่อทอเสร็จแล้วก็นำมาตัดเป็นผืนเฉพาะผ้าพันคอนำไปปั่นยอยใยหัวท้าย (11.ซักรีดแล้ว) บรรจุใส่ถุง

10
ชื่อเจ้าของผู้ผลิต
กลุ่มรวมมิตรเมธีเพื่อสิ่งดีๆที่บ้านเหล่าฯ

11
ที่อยู่
234 บ้านเหล่าสือโก้ก    หมู่ 2  ตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก
จังหวัด อุบลราชธานี 34000 ( อยู่ในหมู่บ้านชุมชนคุณธรรม)

12
เบอร์โทรศัพท์
0896257873 อำมร ( รองประธานกลุ่มฯและผู้ประสานงานในชุมชนฯ)
0872450789 (ประธานกลุ่มฯ และเจ้าของสถานที่)

13
สถานที่จำหน่าย
(ธรรมการย์สถานฯ) 234 หมู่ 2 บ้านเหล่าเสือโก้ก

14
ราคาขาย
ผ้าพันคอ ผืนละ 300 บาท ผ้าขาวม้าผืนละ 270 บาท

15
มาตรฐานการรับรอง
ไม่เคยส่งเข้าขอหรือได้รับการรับรองใดๆ แต่ก็ได้เทียบเคียงกับผลิตภัณฑ์ของถิ่นหรือชุมชนอื่นบ้างตามโอกาสขณะเดียวกัน มีผู้มาเยี่ยมชมเป็นครั้งคราวทั้งจากในและนอกพื้นที่ เช่น มีนักศึกษาจากราชภัฏอุบลฯมาเก็บภาพและข้อมูลสามครั้ง มีแขกนักท่องเที่ยวทั้งที่รู้จักและไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว มาพักและเยี่ยมชมและซื้อเป็นของฝากเป็นครั้งคราวเช่น จากฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และอเมริกา
(ผู้ริเริ่มโครงการ และเจ้าของสถานที่อดีตเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ
และเน้นเรื่องจิตอาสา) การเปิดรับให้แขกเข้าพัก ไม่ได้มีการเก็บค่าที่พักใดๆเป็นไปตามความพร้อมเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การศึกษา และเปิดโอกาสให้เยาวชนคนในท้องที่ได้สัมผัสกับการใช้ภาษาต่างประเทศ
16
ภาพประกอบ
ภาพที่ 1 เริ่มปลายปีปี 2557 ด้วยความหวังสลายสีหาสีรวมๆที่จะสร้างสามัคคีในชุมชน โดยหาชนิดต้นไม้ตามรายชื่อที่ผู้อาวุโสในหมู่บ้านบอก (ในภาพคือข่าลิ้น)


ภาพที่2เริ่มนำเปลือกไม้มาย้อมผ้า ( และมีการแบ่งผ้าทดลองย้อมอีกหลายครั้ง )




ภาพที่3 หลังจากการนำผ้าฝ้ายที่คุณครูบัวสอน วงศ์สุวรรณได้ทอไว้ (น้องสาวท่านได้มอบให้ นายเมธี แก่นสาร์ ประธานกลุ่มรวมมิตรฯ เพื่อใช้ส่งเสริมความรู้ความคิดจิตอาสารวมทั้งอนุรักษ์สิ่งดีๆในชุมชนตามเห็นควร) มาย้อมด้วยสีจากเปลือกไม้ในท้องถิ่นแล้ว สมาชิกกลุ่มฯได้มีความเห็นร่วมกันว่าน่าจะเริ่มหาฝ้ายมาย้อมต่อและทอผ้ากันเอง
โดยมีคุณประภัสสร ปลื้มจิต อดีตหัวหน้ากลุ่มทอผ้าในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มรวมมิตรฯตั้งแต่แรกอยู่แล้วสมัครใจร่วมเป็นผู้ประสานหลักในถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้า เพื่อเป็นวิทยาทานและการอนุรักษ์
 (ภาพเมื่อนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลฯมาเก็บข้อมูลประกอบการรายงานฯ )



  ภาพที่4 คุณเนตร ทวีพันธ์ สมาชิกกลุ่มรวมมิตรฯผู้เป็นสมาชิกกลุ่ทอผ้าเดิม เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมสืบสานและศึกษาทดลองการย้อมฝ้ายด้วยเปลือกไม้และทอผ้าในกลุ่มรวมมิตรฯ



ภาพที่5 คุณอำมร  ปลื้มจิต รองประธานกลุ่มรวมมิตรฯ ในฐานะลูกศิษย์ใหม่ในกลุ่มทอผ้ากำลังปั่นฝ้ายใส่หลอด ก่อนนำไปใส่กระสวยเพื่อทอเป็นผืน



ภาพที่6 เป็นตัวอย่างหนึ่งที่กลุ่มรวมมิตรฯได้มีส่วนเล็กๆในการเผยแพร่ส่งเสริมวัฒนธรรมภูมิปัญญาไทยอยู่บ้างในภาพ รองประธานกลุ่มรวมมิตรฯ ช่วยสาธิตและสอนแขกผู้มาเยือน (ในภาพเป็นอาจารย์ชาวญี่ปุ่นจากมหาวิทยาลัยเกียวโต เมื่อปี 59)


ภาพที่7  ตัวอย่างผลิตภัณฑ์บางส่วน








17
ชื่อผู้บันทึกข้อมูล
นายเมธี  แก่นสาร์
ข้าราชการบำนาญ (ตำแหน่งวิชาการเดิมก่อนเกษียณ ผศ.ดร. ด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ สังกัดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)


ประธานกลุ่มรวมมิตรเมธีเพื่อสิ่งดีๆที่บ้านเหล่าฯ



เบอร์โทรศัพท์ 0872450789

18
วันที่บันทึกข้อมูล
จันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2560

แนวทางการส่งเสริม………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ ………………………………………………………………… ผู้รายงาน
( ……………………………………………………………)
ตำแหน่ง …………………………………………………………………………..
วันที่ ……………………………………………………………………………………      

No comments:

Post a Comment