ขอเพียงแค่เราต้องการ เราทุกคนล้วนสามารถทำอะไรอะไรหลายๆอย่างให้แก่คนอื่น แก่ชุมชนได้ ในฐานะที่อยู่ในสายวิชาการ และมีพื้นเพมาจากชุมชนชนบท เมื่อผมมีโอกาสได้เห็นสังคมภายนอกได้เรียนรู้ในความต่างความเหมือนแล้ว ผมมีความประสงค์ที่จะเข้าไปมีส่วนรับรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน หาแนวทางลดช่องว่างทางความคิดระหว่างคนที่มีภูมิหลังและประสบการณ์ต่างกัน อยากมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสให้เด็กในชนบทได้มีโอกาสรับรู้เรียนรู้มากขึ้นเพราะผมพอจะทราบว่าคนในชนบทกับคนเมืองหรือคนจนกับคนรวยนั้นต้นทุนห่างกันเพียงใด นั่นเป็นเหตุผลที่ผมมักกลับไปที่หมู่บ้านที่ผมจากมา (บ้านเหล่าเสือโก้ก)โดยไปสอนเด็กๆแบบให้เปล่าในวันหยุดเท่าที่เวลาจะอำนวยมากว่าสี่ห้าปีแล้ว บางครั้งผมก็พานักศึกษาที่เต็มใจไปช่วยไปร่วมกิจกรรมกับเด็กๆ บางครั้งก็เชิญแขกชาวต่างชาติไปบ้างตามโอกาส อาจจะทำไม่ได้มากมายแต่ผมก็สุขใจที่ได้ทำ ผมอยากทำให้มากขึ้น แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง เมื่อทำมาได้ระยะหนึ่งแล้วจึงตัดสินใจบอกกล่าวให้คนทั่วไปได้รับรู้ผ่าน Blog นี้ เผื่อจะมีโอกาสทำให้ได้ดีขึ้น มากขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ที่แรงสนับสนุน หากท่านเป็นคนหนึ่งที่พอจะเห็นในเจตนาอันบริสุทธิ์นี้และอยากมีส่วนร่วมโปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อผมได้ที่ meteekns79@gmail.com หรือแสดงความคิดเห็นให้คำแนะนำมาที่ Blog นี้

Sunday, October 12, 2014

เสียงสะท้อนจากผู้สอนคนหนึ่ง ถึงผู้รับผิดชอบทางการศึกษา

--- สืบเนื่องจากการประชุมเกี่ยวกับตัวชี้วัด และมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเมื่อ 9-10 ตุลาคม 2557 ...ผมนายเมธีได้เรียนถามท่านวิทยากร ถึงปัญหา การที่นักเรียนที่จบ มอหก เข้าสู่ระบบมหาวิทยาลัย หลายๆคนมีความรู้ มีคุณภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็นมากโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ทำให้ต้องเสียเวลากลับไปย้อนสอน เรื่องเดิม และหรือหาเวลาสอนเสริม  ยิ่งไปกว่านั้น หลายคนยังขาดการฝึกให้มีความมานะอดทน ในการเรียน   วิทยากรคือนายแพทย์ วุฒิชัย  ธนาพงศธร (ประธานคณะกรรมการพัฒนาตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ) ได้รับปากจะนำเรียนประเด็นนี้ต่อรัฐมนตรี ผมเลยได้ร่างจดหมายถึงผู้นำรัฐบาล และท่านรัฐมนตรีศึกษา ได้นำไปประกอบการพิจารณาแก้ปัญหาการศึกษาของชาติ ตามสำเนาท้ายนี้)

จดหมายถึงกระทรวงศึกษาธิการ 

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

10  ตุลาคม 2557

เรื่อง ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาการประกันคุณภาพและการศึกษาไทย
เรียน  พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และหรือผู้เกี่ยวข้อง (ฝากผ่าน
           ท่าน นายแพทย์ วุฒิชัย  ธนาพงศธร ประธานคณะกรรมการพัฒนาตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษา
           สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในโอกาสมาเป็นวิทยากรที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
สิ่งที่แนบมาด้วย สำเนาความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะคนไทยซึ่งข้าพเจ้าคัดลอกมาจากเฟสบุค เพราะเห็นด้วย
            ตามนั้น ( และคิดว่าคนไทยทุกคน ทุกระดับ ต้องระมัดระวังแก้ไขหากหวังจะทำงานเพื่อชาติอย่างจริงใจ)

            ข้าพเจ้านายเมธี  แก่นสาร์ อาจารย์สังกัดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธนี ขอแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาการศึกษาไทย ในฐานะอาจารย์หรือครูผู้สอนคนหนึ่ง โดยความคิดที่ปรากฏในหนังสือนี้ เป็นความคิดส่วนตัว จากข้อมูลจากประสบการณ์ตรงตลอดการทำงานครูในสถานศึกษากว่า 30 ปีและได้กลับสู่ ชุมชนหมู่บ้าน ทำโครงการในชุมชนทั้งด้วยงบราชการและส่วนตัวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจนปัจจุบันกำลังทำโครงการวิจัยเชื่อมโยงในชุมชนและการสอนอยู่ นั่นคือก่อนการทำหนังสือนี้มาข้าพเจ้าไม่มีโอกาสและเวลาหารือผู้ใด ต้นสังกัดและบุคคลากรท่านอื่นๆไม่มีส่วนรู้เห็นหรือสนับสนุนในการทำหนังสือนี้มาถึงท่านผู้นำ และหรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นหากมีส่วนใดในหนังสือนี้ที่ท่านคิดว่าเป็นการไม่เหมาะไม่ควร ให้ถือว่า เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้านายเมธี แก่นสาร์ผู้เขียนโดยลำพัง และหากมีจุดใดที่ต้องการให้ข้าพเจ้าให้ข้อมูลเพิ่มเติมก็ยินดี
            จากประสบการณ์ มุมมองของข้าพเจ้า พอสรุปได้ว่า ปัญหาหลักของการศึกษา และอาจหมายรวมถึงปัญหาเกือบทุกด้านในสังคมไทย  มาจากระดับความเข้าใจของผู้บริหารบวกความจริงใจไม่จริงใจในการแก้ปัญหาชาติของผู้วางนโยบายและใช้อำนาจบริหาร   ผสมผสานเข้ากับความเป็นไทยของคนไทย (พิจารณาอ่านสิ่งที่แนบมาด้วย) ที่ดูเหมือนจะคุ้นชินกับ การทำอะไรแบบเฉพาะหน้า ง่ายๆ นิสัยชอบยืดหยุ่นหรือเคร่งครัดผิดที่ผิดเรื่อง แบบผิดที่ผิดเวลา และระบบอุปถัมภ์   ที่สำคัญมากๆคือความจริงใจและเปิดกว้างพร้อมจะรับฟังความคิดของผู้ด้อยบารมีหรือตำแหน่งกว่าของผู้มีอำนาจ
                ในด้าน ความเข้าใจ  หลายครั้งที่ปรากฏว่า สิ่งที่สั่งลงไปยังระดับล่าง มันยากกับการปฏิบัติ และมีตัวแปรมากมายที่มันบอกว่าที่ผู้เป็นนาย บอกว่าเข้าใจ ก็ดูเหมือนไม่เข้าใจ เช่น ต้องการให้ผู้สอนระดับอุดมศึกษา ทำเป็นตัวอย่าง พยายามใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง คิดและวางแผนแก้ไข คุณภาพผลการเรียนของผู้เรียนแต่มันติดๆขัดๆตั้งแต่การถ่ายทอดลงไปยังผู้ปฏิบัติก็มีหลายครั้งมากที่ไม่ชัดเจน ครั้นผู้ปฏิบัติถามและซักรายละเอียดก็เริ่มไม่แน่ใจต้องถามต่ออีกระดับ ขณะที่หลายทีก็สั่งให้ทำให้เขียนกันไปก่อน สุดท้ายก็ต้องแก้กันไปมาหลายรอบจนหาเวลาจะเตรียมการสอนแทบไม่มีทั้งๆที่สอนกันไม่กี่ชั่วโมงก็ตามแล้วท่านจะวาดหวังร้องขอให้กลับไปทบทวนในมอคอออแบบสม่ำเสมออีกได้อย่างไรในการอบรม (โดยทั่วไป ไม่ได้เจาะจงท่านนายแพทย์ฯ) บางครั้งทั้งๆที่แค่ระดับที่ดูน่าจะได้เตรียมได้ดูมาก่อนผู้มาเป็นวิทยากรเองก็ตอบไม่ได้ต้องกลับเอาไปถามคนโน้นคนนี้กว่าจะได้คำตอบบางทีคนถามหรือผู้เข้ารับการอบรมก็ลืมหรือเลิกใส่ใจไปแล้ว อีกอย่าง หากทัศนคติ หากความใฝ่รู้ของผู้เข้ารับการอบรมมีปัญหาอยู่แล้ว ..ท่านก็น่าจะประเมินประกันผลได้ขออภัยขออนุญาตยกตัวอย่างกรณีที่ท่านนายแพทย์ วิทยากรในครั้งนี้ได้พูดได้กล่าวถึง ตามที่ข้าพเจ้าพอจะจับประเด็นการมองทางแก้หรือคำตอบเรื่องปัญหาเด็กที่รับเข้ามามีคุณภาพการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์หรือมาตรฐาน..ดูเหมือนท่านจะคิดคล้ายๆกับผู้ทรงคุณวุฒิหลายๆท่านที่ได้ยินมาบ่อยพอควรคือมันก็เป็นหน้าที่ของผู้สอน เมื่อคุณรับเขามา (จริงๆ ผู้สอนไม่มีสิทธิ์เลือกเสมอไป หลายครั้ง ขึ้นกับนโยบายมหาวิทยาลัย หรือคณะแต่ละคณะและขออภัยหากจะถามต่อว่าผู้สอนเคยสะท้อนกลับไปไหม?...)  คุณก็ต้องยกระดับพื้นฐานเขา ต้องสอนเสริมให้เขาด้วยความเคารพ ทั้งๆที่ฟังดูดีและดูเป็นไปได้กับการคิดว่าไม่เป็นไร เด็กจบมอหกมาคุณภาพอาจไม่ดี เราก็ซ่อมก็เสริม ปรับให้มันดีแต่ท่านได้คิดต่อหรือไม่ นั่นคือภาระที่เพิ่มขึ้นพร้อมๆกับเวลาที่ครูต้องแบ่งไปจากการสอนในหลักสูตรและอย่าลืมว่ามอคอออและการเตรียมสอนต่างๆ ต้องเตรียมไว้ก่อน เมื่อคุณภาพผู้เรียนต่างกว่าที่ประมาณการณ์มากๆ ปัญหาการจัดการและอื่นๆตามมา..ข้าพเจ้าพูดได้ยืนยันได้เพราะทำมาแล้วไม่ต่ำกว่าสิบครั้ง แถมยังตรวจสอบได้เลยเดี๋ยวนี้ก็ยังต้องทำ ต้องเสริม ต้องหาเวลา ทั้งๆที่ยังไม่ทราบว่าจะคุ้มเวลาหรือไม่..(มันรู้สึกว่าน่าจะเปรียบเทียบได้ว่า แทนที่หมอจะได้รีบรักษาๆๆๆ ยังต้องเจอปัญหาคนไข้คุยกันไม่รู้เรื่องแล้วต้องสละเวลาสอนภาษาและการสื่อสารคนไข้ไปพร้อมๆกันทำนองนั้นหมอยังโชคดีนะ ไล่คนไข้ออกไปหรือหาญาตมาคุยแทนได้ แต่กับอาจารย์มหาวิทยาลัย..ท่านอนุญาตให้ปล่อยเด็กออกไปเรียนใหม่เองไหมเล่า) ข้อเท็จจริงจากตัวอย่างในวิชาภาษาอังกฤษคือ เด็กจบม.6 ไม่น่าจะต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ (เกรงว่าจะมากกว่า) ถ้าจะวัดกันจริงๆ เพียงคุณภาพระดับตามที่เขียนไว้ในหลักสูตรแกนกลางฯ 51 หน้า 255- 256 ระดับประถมยังไม่น่าผ่านเลย แล้ว ท่านผู้ทรงฯ ท่านผู้วางแผนนำหลักการวิธีการดีๆมาสู่การปฏิบัติได้ ตรวจสอบ ได้คำนวณความจริงตรงนี้เข้าไปเพียงใด  มันต้องใช้เวลาเท่าใดในการจะปรับคุณภาพผู้เรียนจากระดับประถมมาสู่ระดับมหาวิทยาลัย แล้วยังต้องให้คอยเขียนคอยแก้มคอ ที่ท่านข้างบนบางครั้งก็ใช่จะตอบตรงกันหมด ไม่ต้องนับที่ครูต้องคอยหาหลักฐานพิสูจน์ว่า ตนไม่ใช่ครูผู้ไม่ทำงาน ขณะที่อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ ระบบคอม ระบบออนไลน์ในมหาวิทยาลัยฯ คุณภาพของคน ของเจ้าหน้าที่แต่ละแห่งใช่ว่าจะพร้อมตลอดเวลาเท่ากันหมด.ทั้งหมดนี้ดูเล็กน้อยแต่กินเวลาการสอนเอามากๆทั้งนี้โปรดเข้าใจ ข้าพเจ้าไม่ได้บอกว่าสิ่งที่ท่านแนะนำมามันดีหรือไม่ดี แต่กำลังบอกว่า หลายครั้งมันเหมือนกับว่าท่านคิดแต่ในมุมของท่านโดยลืมรายละเอียดอื่นๆที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ กัน ท่านบอกว่า แต่ละหน่วยงานในสถาบันฯ ต้องสอดประสานทำงานร่วมกันดังนั้นผู้บริหารข้างบน ทั้งผู้กำกับดูแลระดับ ประถม มัธยม และอุดมศึกษาควรประสานกันให้ชัดด้วยหรือไม่ ก่อนการลงทุนลงแรงทุ่มลงมาที่ผู้ปฏิบัติแบบแยกระดับ
                ด้านความจริงใจนักการเมือง ผู้บริหารระดับสูงจริงใจกับการแก้ปัญหาแค่ไหน ยอมรับความจริงได้หรือไม่ หลายครั้งหลายคน พอตอบไม่ได้ก็บอกทำไงได้เขาสั่งมา หลายทีก็บอกทำให้ได้ตามเป้าไปก่อน ขอเพียงตัวเลขเพราะต้องรายงานนาย (หลักฐานเชิงประจักษ์ เช้า 10 ตุลาคม 57 ข้าพเจ้าสัมภาษณ์นายจาฏุพจน์ วงศ์สุวรรณ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเหล่าเสือโก้ก ชุมชนเป้าหมายงานวิจัยและบริการวิชาการของข้าพเจ้าเกี่ยวกับปัญหาการศึกษา กับคำถามว่าเคยแจ้งปัญหาต่างๆเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา การที่ผู้สอนใช้เวลาไปกับงานอื่นรวมทั้งการทำผลงานเพื่อตำแหน่งวิชาการไปถึงผู้ใหญ่หรือไม่ เขาตอบว่าแม้ส.. ก็ยังบอกว่า เขาก็ต้องเอาตัวรอด ต้องได้ตัวเลขตามเป้า ตามนโยบาย เวลานายถาม ซึ่งข้าพเจ้ายังไม่ได้มีข้อมูลว่านายหมายถึงรัฐมนตรีหรือผู้ใด)…ไม่ได้มุ่งโจมตีคณะรัฐประหาร รัฐบาลปัจจุบัน แต่เพื่อให้เห็นตัวอย่างที่ยังสะท้อนว่าปัญหานี้แม้รัฐบาลที่ว่ามาจากคนดีๆเลือกมาก็ยังสะท้อนภาพเดิมๆ โครงการหมู่บ้านศีลห้าข้าพเจ้าได้ยินกับหู กับความเข้าใจไม่เข้าใจเมื่อได้ฟัง ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำสงฆ์แจ้งข่าวคำสั่งและนโยบายเบื้องบน ดังนั้นหากจะแก้ปัญหา ผู้บริหารระดับสูงต้องไม่เน้นไม่หยุดเพียงดูตัวเลข แต่ต้องติดตามตรวจสอบที่มาและดูปัจจัยอื่นๆด้วย…..ในเรื่องคุณภาพการศึกษามันยังสมควรอยู่หรือไม่เมื่อเห็นตัวเลขนักเรียนตกมากก็สั่งๆ ให้ทำให้มันจบให้ได้ตัวเลขที่สวยขึ้น กับการส่งเสริมการศึกษาตามอัธาศัย ที่ฟังดูดี ฟังดูกว้างไกล ท่านเคยติดตามจริงจังหรือไม่ว่า ตามอัธยาศัยหมายถึงตามใจใครบ้าง อย่างไร กับคำว่าสูญเปล่าทางการศึกษา..ได้เข้าใจได้คุยชัดฟังทั่วจนชัดเจนกันหรือไม่ ตีความ คำว่าสูญเปล่าทางการศึกษา เพียงแค่ตัวเลขจบสูงคือความไม่สูญเปล่าหรือข้าพเจ้าจึงเห็นว่าหลายท่านไม่จริงใจ ไม่เจาะปัญหาลึกพอ
                ระบบอุปถัมภ์ ระบบพวก ตัดสินกันก่อน ว่าคนนั้น คนนี้ดี คนนี้ มีบุญคุณ  เพื่อตำแหน่ง เพื่อเป้าหมายส่วนตัว เพื่อทรัพย์และอำนาจ การขายใบประกาศ การแลกเกรด แลกการอุปถัมภ์โรงเรียน สถานศึกษา สามารถแลกได้กับใบกระดาษประกาศวุฒิทางการศึกษา หลายมหาวิทยาลัยยอมรับเด็กคะแนนต่ำๆ เพื่อให้ได้จำนวนได้งบถ้าไม่ทำ เบื้องบนก็ไม่ให้เงินมา ขณะที่ผู้สอนระดับมัธยมก็ปล่อยเกรดเพื่อให้เด็กให้ยอดโควต้าสูงขึ้น ทุกอย่างโยงใย
                ต้องขออภัย ที่ข้าพเจ้าไม่สามารถสรุปได้ดีและสั้นพอ แต่ทั้งหมดคือมุมมองของข้าพเจ้าดังที่แจ้ง ผิดถูกอย่างไร ก็โปรดพิจารณา ประเด็นหลักคือ ขอได้โปรดดูแลมาตรฐาน ดูแลคุณภาพอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ระดับประถม ระดับพื้นฐาน มัธยมตามลำดับ และพิจารณาด้วยว่า การให้โอกาสมากไป มันเป็นดาบสองคมหรือไม่ เด็กที่ไม่มีมานะ มีผลการเรียนต่ำมากๆ ระหว่างการที่ให้เขารู้ตัวตั้งแต่เด็ก ได้ตกได้ออกไปตามความสามารถ แล้วไปแสวงหาสิ่งที่เขาชอบตั้งแต่ต้นกับการดันการวัดที่ปริมาณ อันไหนมันได้มันเสียมากกว่ากันครูรวมทั้งหลายท่านในทุกอาชีพที่มีอำนาจบารมีและกำลังทำหน้าที่ในปัจจุบันคือส่วนหนึ่ง ของระบบอุปถัมภ์ดันมาหรือไม่ ควรเข้มงวดกวดขันคุณภาพของครู พอๆกับการสร้างแรงจูงใจที่ดีให้คนเก่งคนดีมาประกอบอาชีพครูไปพร้อมๆกับคัดคนที่เกาะอยู่ตามอาชีพต่างๆออกไปหรือไม่…(แต่ถ้าจะทำจริงๆ ผู้มีอำนาจระดับสูงท่านต้อง ใจสะอาดปราศจาคอคติจริงๆ ไม่ใช่เชื่อมั่นว่าตนดีจนไม่สามารถฟังความคิดต่างได้และเลือกข้างเลือกตัดสินคนเพียงจากความต่างในบางเรื่องสิ่งนี้คือประเด็นที่ข้าพเจ้าไม่สบายใจกับอำนาจเด็ดขาด แต่ถ้าทุกท่านแน่ใจและพร้อมจะนำความคิดต่างไปพิจารณา และเป็นคนดีมีคุณธรรมจริงพอที่จะแยกเรื่องส่วนตัวออกจากส่วนรวมได้ข้าพเจ้าขอสนับสนุน) เพราะถ้าเด็กไม่ถูกฝึกให้ใช้ความสามารถ ความพยายามเอาชนะความไม่รู้ ตั้งแต่ต้น มันยาก และสำหรับข้าพเจ้ามันบั่นทอน ทั้งทรัพย์กรทั้งทางกาย ทางใจ คุณทรัพย์ มากมาย มันใช่หรือไม่กับที่รัฐใช้เงินส่งคนไปเรียนจนจบโทจบเอกแล้วต้องมาใช้ความพยายามสอนพยายามแก้ในสิ่งที่คนระดับปริญญาตรีก็น่าจะช่วยกันทำช่วยกันสอนได้  ซึ่งข้าพเจ้าแน่ใจว่าปัญหานี้ไม่ใช่กับภาษาอังกฤษ แม้เพียงการสื่อสารภาษาไทย ก็ยังเป็นปัญหาเมื่อผู้เรียนรู้ว่าแทบไม่ต้องลงทุนลงแรงก็จบก็ผ่านได้

                ท้ายนี้หวังว่าคงเข้าใจว่าข้าพเจ้ามิได้เสนอมาเพราะเห็นว่าตนเองจะทำจะแก้ได้ แต่เพราะเห็นว่าอาจเป็นช่องทางที่ผุ้มีอำนาจอาจจะนำไปพิจารณาปรับใช้ในการหาทางพัฒนาการศึกษาไทยได้  จึงตัดสินใจทำหนังสือมา และขอขอบพระคุณที่จะนำไปพิจารณาตามสมควร

                               

                                (นายเมธี  แก่นสาร์)
        (www.meteekansa.blogspot.com)
             11:10 วันที่ 10 ตุลาคม 2557
               
สิ่งที่แนบมาด้วย

บทความข้อคิด อออนไลน์ ที่ผม นายเมธี  แก่นสาร์ได้บันทึกหรือคัดลอกไว้ เมื่อ  17 กันยายน 2557 โดยเมื่อมาดูอีกครั้งในวันที่ 10 ตุลาคม 2557 เพื่อรวบรวมข้อมูล แนวคิด ปัญหา ฝากไปยังรัฐมนตรีศึกษา ให้พิจารณาวางแนวทางและกฏเกณฑ์ที่ปฏิบัติได้ และมีการปฏิบัติจริงกับปัญหาต่างๆทั้งระบบ โดยเฉพาะการศึกษา ทักษะการคิด หลายอย่างต้องปลูกฝังตั้งแต่ระดับต้นๆปัญหาใหญ่มากๆคือการปล่อยให้ผู้เรียนผ่านขึ้นมาสู่อุดมศึกษาทั้งๆที่ไม่ได้มีคุณภาพตามเกณฑ์…..ซึ่งผู้มีหน้าที่ควบคุมมาตรฐานฯ ต้องเห็นความเชื่อมโยง ตรงนี้และประสานกันให้ชัด ไม่ใช่ ต่างระดับแยกกัน แล้วจะมาบอกมาแนะให้แต่ละหน่วยงานในสถาบันเขาประสานกันทำไม ถ้าข้างบันยังประสานกันไม่ได้ก็น่าจะเห็นปัญหาแล้ว….ข้อมูลบอกว่า การโพสท์นี้ นายเมธี น่าจะเห็นครั้งแรกและแชร์ในเฟสเมื่อ เวลาประมาณ  16 นาฬิกา วันที่ 16 กันยายน 57 และได้ตัดสินใจบันทึกเก็บไว้ตอน  8:30 . เช้า วันที่ 17 กันยายน 2557
16 hours ago (นับถึง 8:30 เช้า 17 กันยายน 2557)
เห็นด้วยเอามากๆเกือบทุกข้อ....อะไรง่ายๆพี่ไทยทำ อะไรที่่ต้องคิดต้องเตรียม ต้องใช้เวลา หาคนยาก อะไรที่ลำบาก ก็ลากก็ฝากด้วยสินบนหาคนทางลัด แม้แต่การศึกษาที่ดูน่าจะจัดว่าพอพึ่งพาเป็นหลัก แต่เชื่อไหมที่รัก ประจักษ์แก่ตาแก่หูอยู่ทุกวัน สอนกันแหม็บๆ แป๊บเดียวถามลืมไปแล้ว ยิ่งแถมภาษาปะกิต ไม่ได้ให้คิดอะไรมากมาย แค่ Verb to be ก็หายไปจากความทรงจำ กับ an และand กว่าจะหาคนแปลได้ ไม่รู้จะถามใคร ผู้ใดหนอถ่อดันให้จบมอหกเพื่อมาตกที่มหาวิทยาลัย และกี่แห่งที่รับมาเพียงแค่ให้พากระดาษออกไป แต่ในหัวน่ากลัวว่าอาจได้อะไรเพียงใด
แสบเข้าไปถึงทรวง จะโทษใครดี...
เห็นทีคนไทยต้องกลับมาพิจารณาตนเองอีกครั้ง
นายเซ็ทซึโอะอิอุจิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นประจำกรุงเทพระบุว่าไทย ไม่เป็นประเทศที่น่าสนใจในการลงทุน ในสายตาของนักลงทุนญี่ปุ่น โดยได้แสดงทรรศนะถึง จุดอ่อนของคนไทยไว้ 10 ข้อ คือ
1 . คนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำมาก โดยเฉพาะ หน้าที่ต่อสังคม คือ เป็นประเภทมือใครยาวสาวได้สาวเอา เกิดเป็น ธุรกิจการเมือง ธุรกิจราชการ ธุรกิจการศึกษา ทำให้ประเทศชาติล้าหลังไปเรื่อยๆ
2. การศึกษายังไม่ทันสมัย คนไทยจะเก่งแต่ภาษาของตัวเอง ทำให้ขาดโอกาสในการแข่งขันกับต่างชาติในเวทีต่างๆ ไม่กล้าแสดงออก ขี้อายไม่มั่นใจในตัวเอง เราจึงตามหลังชาติอื่น จะเห็นว่าคนมีฐานะจะส่งลูกไปเรียนเมืองนอกเพื่อโอกาสที่ดีกว่า
3. มองอนาคตไม่เป็น คนไทยมากกว่า 70% ทำงานแบบไร้อนาคตทำแบบวันต่อวัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ น้อยคนนักที่จะทำงานแบบเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน มีเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจน
4. ไม่จริงจังในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำแบบผักชีโรยหน้า หรือทำด้วยความเกรงใจ ต่างกับคนญี่ปุ่นหรือยุโรปที่จะให้ความสำคัญกับสัญญาหรือข้อตกลงอย่างเคร่งครัด เพราะหมายถึง ความเชื่อถือในระยะยาว ปัจจุบันคนไทยถูกลดเครดิตความน่าเชื่อถือด้านนี้ลงเรื่อยๆ
5. การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่ ประชากรประมาณ 60-70% ที่อยู่ห่างไกลจะขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองและชุมชนซึ่งเป็น หน้าที่ของภาครัฐที่ต้องส่งเสริม
6. การบังคับกฎหมายไม่เข้มแข็ง และดำเนินการไม่ต่อเนื่อง ทำงานแบบลูบหน้าปะจมูก ปราบปรามไม่จริงจัง การดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีอำนาจหรือบริวารจะทำแบบเอาตัวรอดไปก่อน ไม่มีมาตรฐาน ต่างกับประเทศที่เจริญแล้ว
7. อิจฉาตาร้อน สังคมไทยไม่ค่อยเป็นสุภาพบุรุษ เลี้ยงเป็นศรีธนญชัย ยกย่องคนมีอำนาจ มีเงิน โดยไม่สนใจภูมิหลัง โดยเฉพาะคนที่ล้มบนฟูกแล้วไปเกาะผู้มีอำนาจ เอาตัวรอด คนพวกนี้ร้ายยิ่งกว่า ผู้ก่อการร้าย ดีแต่พูด มือไม่พายเอาเท้ารานํ้า ทำให้คนดีไม่กล้าเข้ามาเพราะกลัวเปลืองตัว
8. เอ็นจีโอค้านลูกเดียว เอ็น จีโอ บางกลุ่มอิงอยู่กับผลประโยชน์ เอ็นจีโอดีๆก็มี แต่มีน้อย บ่อยครั้งที่ประเทศไทยเสียโอกาสอย่างมหาศาลเพราะการค้านหัวชนฝา เหตุผลจริงๆ ไม่ได้พูดกัน
9. ยังไม่พร้อมในเวทีโลก การสร้างความน่าเชื่อถือในเวทีการค้าระดับโลกประเทศไทยยังขาดทักษะและทีม เวิร์คที่ดี ทำให้สู้ประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ไม่ได้
10. เลี้ยงลูกไม่เป็น ปัจจุบัน เด็กไทยขาดความอดทน ไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นขี้โรคทางจิตใจ ไม่เข้มแข็ง เพราะเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ไม่สอนให้ลูกช่วยตัวเอง ต่างกับชาติที่เจริญแล้ว เขาจะกระตือรือร้นช่วยตนเองขวนขวาย แสวงหา ค้นหาตัวเอง และเขาจะสอนให้สำนึกรับผิดชอบต่อสังคม



หมายเหตุ  นายเมธี แก่นสาร์  จัดเตรียมและบันทึกเพิ่มเติม ได้รับโอกาสแลกเปลี่ยนเสนอแนวคิดแนวทางเกี่ยวกับปัญหาการศึกษา และการประกันคุณภาพ ในการประชุม 10 ตุลาคม 2557 ที่โรงแรมฯ มหาวิทยาลัยอุบลฯ ….หลังจากได้เรียนถามปัญหา และท่านวิทยากร นายแพทย์ วุฒิชัย ธนาพงศธร ประธานกรรมการพัฒนาตัวบ่งชี้ฯ รับปากจะนำข้อคิดปัญหาไปเรียนท่านรัฐมนตรีและหรือผู้เกี่ยวข้องต่อไป

No comments:

Post a Comment